ฮอร์โมนสุขภาพ
การดูแลสุขภาพเป็นศาสตร์และศิลป์ มีองค์ประกอบหลากหลายที่มีความสำคัญต่อการสร้างเสริมสุขภาพและแม้แต่การซ่อมแซมรักษาก็หนีไม่พ้นบทบาทหน้าที่ของฮอร์โมนในร่างกาย ดังนั้นการรักษาด้วยยาเป็นเพียงการรักษาอาการเจ็บป่วยเท่านั้นไม่ใช่รักษาโรค และโรคส่วนใหญ่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยยา และข้อเท็จจริงที่หลายคนมองข้ามคือการรักษาโรคด้วยยาหรือการผ่าตัดรวมทั้งการดูแลในห้อง ICU หรือการรักษาที่ต้องการเครื่องมือพิเศษต่างๆนานานั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งในช่วงที่เกิดภาวะการเจ็บเฉียบพลัน รุนแรงจนเก่อให้เกิดความผิดปกติในการทำงานของอวัยวะต่างๆในร่างกาย แต่เมื่อพ้นขีดอันตรายแล้วนั้น การจะรักษาฟื้นฟู สร้างเสริมซ่อมแซมส่วนสึกหรอให้กลับมาเป็นปกติหรือใกล้เคียงปกตินั้น ต้องอาศัยการปฏิบัติตัวที่เหมาะสม ทั้งการกิน การนอนหลับ การออกกำลังกายที่เหมาะสม การลดความเครียด ซึ่งทั้งสี่อย่างนี้เป็นการปรับความสมดุลย์ของฮอร์โมนในร่างกายให้สอดรับกันเพื่อการสร้างสุขภาพที่แข็งแรง
- ฮอร์โมนคอร์ทิซอล(Cortisol hormone) หลั่งจากต่อมหมวกไตเพื่อตอบสนองต่อภาวะเครียดในร่างกาย ปกติคอร์ทิซอลจะหลั่งมากที่สุดในตอนเช้าและค่อยๆลดลงในตอนกลางวันจนถึงระดับต่ำสุดในเวลากลางคืน
- ฮอร์โมนไธรอยด์(Thyroid hormone) เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมไธรอยด์และมีความสำคัญอย่างมากต่อการทำงานของระบบต่างๆในร่างกาย ระดับของฮอร์โมนไธรอยด์จะสูงที่สุดในตอนเช้าและค่อยๆลดลงตลอดวัน
- ฮอร์โมนเพศชาย(Testosterone hormone)
testosterone เป็นฮอร์โมนเพศชายสร้างบุคลิกลักษณะทางเพศของเพศชายสร้างจากอัณฑะของเพศชาย แต่ก็มีการสร้างได้บ้างเล็กน้อยในเศหญิง ระดับสูงสุดในตอนเช้าและค่อยๆลดลงจนต่ำสุดในตอนกลางคืน
- โกรทฮอร์โมน (Growth hormone)
โกรทฮอร์โมน (Growth Hormone)หรือฮอร์โมนเพื่อการเจริญเติบโต สามารถออกฤทธิ์ โดยตรงต่อเนื้อเยื่อรอบข้าง โดยไม่ต้องเกี่ยวข้องกับIGF-1 มันสามารถจับกับตัวรับของมันเองบนพื้นผิวของเซลล์ในเนื้อเยื่อเป้าหมาย ซึ่งนำไปสู่การกระตุ้นและส่งสัญญาณที่สามารถกระตุ้นการเติบโตของเซลล์ ความแบ่งเซล และเมแทบอลิซึมของเซล
ผลกระทบโดยตรงบางประการของ GH ต่อเนื้อเยื่อรอบข้าง ได้แก่ :
การเผาผลาญไขมัน: GH สามารถกระตุ้นการสลายไขมันที่เก็บไว้ (การสลายไขมัน) ในเนื้อเยื่อไขมัน ซึ่งนำไปสู่การปลดปล่อยกรดไขมันอิสระเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงาน
การเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อ: GH สามารถกระตุ้นการเจริญเติบโตและความแตกต่างของเซลล์กล้ามเนื้อโครงร่าง ทำให้มีมวลและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น
การเจริญเติบโตของกระดูก: GH สามารถกระตุ้นการเพิ่มจำนวนของเซลล์กระดูกที่เรียกว่าเซลล์สร้างกระดูก ซึ่งนำไปสู่การเติบโตและการสร้างกระดูกที่เพิ่มขึ้น
การทำงานของภูมิคุ้มกัน: GH สามารถเสริมการทำงานของเซลล์ภูมิคุ้มกัน เช่น T-cell และ B-cell นำไปสู่การเพิ่มความต้านทานต่อการติดเชื้อและโรค
ในขณะที่ IGF-1 เป็นตัวกลางที่สำคัญของการออกฤทธิ์ของ GH ต่อเนื้อเยื่อรอบข้าง แต่GH ยังสามารถออกฤทธิ์โดยตรงกับเซลล์เพื่อสร้างผลกระทบเหล่านี้ได้
- Insulin-like Grwoth Factor-1(IGF-1)
- Melatonin เมลาโทนิน
- อินสุลิน(Insulin)